ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Arthroplasty)
ในกรณีที่โรคข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง หรือ ผ่านการรักษาด้วยยา ร่วมกับการทำกายบริหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วอาการไม่ดีขึ้น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพื่อลดอาการปวด เพิ่มพิสัยการขยับของข้อ และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสามารถทำฤได้หลายวิธี
จากการศึกษาการผ่าตัดข้อเข่าเทียม ได้ผลดีเยี่ยม โดยมีอายุการใช้งาน 10 ปี และ 15 ปี มากกว่า 90% วัสดุของผิวข้อเข่าเทียม ผลิตมาจากโลหะและโพลิเมอร์ ที่แข็งแรงและปลอดภัยต่อร่างกาย และได้มาตรฐานการรับรองสากล จากประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ผิวข้อเข่าเทียมยึดติดกับกระดูกด้วย ซีเมนต์ (Bone cement) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการยึดเกาะระหว่างผิวข้อโลหะกับกระดูก ปัจจุบันมีข้อเข่าเทียมหลายประเภทให้เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับ ดุลยพินิจของแพทย์ ความต้องการของผู้ป่วย และ งบประมาณค่าใช้จ่าย การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในปัจจุบันไม่น่ากลัวอีกต่อไป เนื่องจากการให้ยาลดอาการปวดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นร่วมกับเทคนิคการผ่าตัดสมัยใหม่ ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้น และโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดินได้ทันทีภายในหนึ่งวันหลังผ่าตัดถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ทำให้ระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังการผ่าตัดสั้นลงเพียง 5-7วัน โดยเฉลี่ย
เปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน Unicompartmental Knee Arthroplasty (UKA)
ในปัจจุบันนี้ การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน unicompartmental knee arthroplasty เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมแบบบางส่วน แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน ถ้าโรคข้ออักเสบของผู้ป่วยจำกัดอยู่ในส่วนหนึ่งเดียวของข้อเข่า
โดยปกติข้อเข่าจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนหลักช่องตรงกลาง (ส่วนด้านในของหัวเข่า), ช่องด้านข้าง (ส่วนนอก) และช่องของลูกสะบ้า ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแบบบางส่วน unicompartmental มีเพียงช่องเสียหายจะถูกแทนที่ด้วยโลหะและพลาสติก ในส่วนกระดูกอ่อนที่ปกติดีและกระดูกในส่วนอื่นที่ปกติ จะยังคงคงสภาพเดิมไว้ ซึ่งแตกต่างจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแบบทั่งข้อ
ข้อดีของการเปลี่ยนข้อเข่าบางส่วน
• การฟื้นตัวได้เร็วมาก
• ความเจ็บปวดน้อยหลังการผ่าตัด
• สูญเสียเลือดน้อย
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty)
การผ่าตัดที่ใช้ในการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรงโดยการนำเอาส่วนผิวข้อเข่าที่เสื่อมแล้วออกไป แล้วทดแทนด้วย ผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด ทั้งส่วนของกระดูก Femur, Tibia และ Patella การเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด ที่เป็นการผ่าตัดโดยการตัดผิวข้อเข่าที่เสียหายของกระดูกส่วนปลายต้นขา (Femur) และส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ทั้งด้านในและนอก (Medial and lateral compartment) ออกทั้งหมด
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดเหมาะกับใคร
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่ามากจนทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น การลุกนั่ง การเดินขึ้นลงบันได การเดินซื้อของ หรืออาการปวดที่เกิดขึ้นแม้อยู่ในขณะพัก เป็นต้น
ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการปวดข้อเข่ามาก หรือไม่ได้เป็นตลอดเวลา แต่อาการปวดนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่อยากเดินขึ้นลงบันได ช่วยเหลือตัวเองได้ลำบาก ไม่สามารถยืนเองได้ต้องมีคนคอยพยุงอยู่ตลอดเวลา
ผู้ป่วยใช้การรักษาโดยวิธีอื่น เช่น การรับประทานยา การรักษาทางชีวภาพ การทำกายภาพบำบัด แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือดีขึ้นด้วยการรับ
ผู้ป่วยมีลักษณะของขาที่โก่งมาก ข้อเข่าติด เคลื่อนไหวได้ลดลง เหยียดเข่าได้ไม่สุด และงอเข่าได้น้อยกว่า 90 องศา
สามารถทำได้ในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 50-60 ปีขึ้นไป ร่วมกับมีปัจจัยดังกล่าวข้างต้นร่วมด้วย โดยที่ผู้ป่วยต้องไม่กลับไปทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่ามากๆ เล่นกีฬาที่มีแรงปะทะ หรือยกของหนัก
การผ่าตัดวิธีนี้ ไม่เหมาะกับคนที่ยังอายุน้อยมากๆ เพราะอุปกรณ์มีการสึกหรอไปตามกาลเวลา โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15-20 ปี จึงอาจต้องมีการผ่าตัดซ้ำอีกครั้ง
หากผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกบางชนิด เช่น มีภาวะกระดูกพรุนขั้นรุนแรง โรครูมาตอยด์ หรือโรคกระดูกอ่อนบางโรค เช่น โรคกระดูกอ่อนไม่แข็งแรง ต้องมีความระมัดระวังในการผ่าตัด
ข้อจำกัดการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีข้อดีหลายประการ แต่ไม่สามารถใช้เทคนิคดังกล่าวกับคนไข้โรคข้อเข่าเสื่อมได้ทุกราย เช่น
คนไข้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง ร่วมกับมีการโก่งงอ ของข้อเข่ามาก
คนไข้ที่มีภาวะข้อเข่ายึดติดอย่างรุนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ ในระหว่างทำการผ่าตัด
คนไข้ที่ร่างกายมีภาวะน้ำหนักมาก จะไม่เหมาะที่จะใช้การผ่าตัดดังกล่าวได้
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้เทคโนโลยี ด้านคอมพิวเตอร์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถช่วยให้ การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง คุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับการ เพิ่มโอกาสให้ผิวข้อเข่าเทียมมีอายุใช้งานที่นานมากขึ้น โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขในภายหลังอีกครั้ง
การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ผู้ป่วยสามารถลุกนั่ง ขยับขา และข้อเท้าได้ทันที เมื่อรู้สึกตัวหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดดำบริเวณขา ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะนี้ อาจได้รับยาละลายลิ่มเลือดชนิดฉีดหรือรับประทาน นาน 2-3 สัปดาห์
โดยทั่วไปหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรจะงอเข่าได้อย่างน้อย 90 องศา และเหยียดได้เกือบสุด ถึงจะอนุญาตให้กลับไปพักรักษาตัวต่อที่บ้านได้ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ถ้าเลือกวิธีปิดแผลด้วยกาวกันน้ำ สำหรับผู้ป่วยอื่น ๆ ทั่วไป ต้องดูแลแผลผ่าตัดให้แห้ง และห้ามโดนน้ำประมาณ 10 ถึง 14 วันหลังผ่าตัด ไม่แนะนำให้แช่ในอ่างอาบน้ำ หรือว่ายน้ำในหนึ่งเดือนแรกของการผ่าตัด
โดยส่วนใหญ่หลังการผ่าตัดสามารถลงน้ำหนักได้ทันที ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ในช่วง 4 สัปดาห์แรก โดยเริ่มจากอุปกรณ์ช่วยเดินแบบสี่ขา เพื่อความมั่นคงขณะเดินและลดอาการปวดจากการลงน้ำหนักที่ขา เมื่อผู้ป่วยสามารถลงน้ำหนักได้มากขึ้นอาจพิจารณาเปลี่ยนอุปกรณ์ช่วยเดินเป็นไม้คำยัน และไม้เท้า อย่างไรก็ตามการลงน้ำหนักและการเดินขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทีมแพทย์ผู้ผ่าตัด
ปัจจัยเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม ที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
“โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นรูปแบบของ “โรคข้ออักเสบ” ที่พบบ่อยมากที่สุด โดยมากแล้ว จะพบผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมที่อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากปัจจัยด้านฮอร์โมน กระดูก กล้ามเนื้อ ทั้งนี้ ปัจจุบันยังพบโรคข้อเข่าเสื่อมในคนที่อายุน้อยลงอีกด้วย ซึ่งคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้ เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อต่อที่มีการใช้งานเยอะ และรองรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรงหรือมีโรคประจำตัวเป็นโรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาท์ กลุ่มโรคเหล่านี้จะทำลายกระดูกอ่อนไปเรื่อย ๆ เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกหรอมากขึ้น จึงก่อให้เกิดอาการปวดเข่าขึ้น และยังไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในข้อเข่าอีกด้วย จนทำให้เกิดปวดบวมและติดแข็งของข้อเข่าในท้ายที่สุด