การดูดไขมัน
การดูดไขมัน (Liposuction)
เป็นการใช้เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายท่อยาวใส่เข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อดูดไขมันส่วนเกินออกมาจากบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ หน้าท้อง สะโพก ต้นขา ต้นแขน คอ ก้น เป็นต้น ทำให้ลดจำนวนไขมันบริเวณส่วนต่าง ๆ ที่สะสมเฉพาะที่ลงได้ แต่การดูดไขมันไม่สามารถแก้ปัญหาผิวเปลือกส้มจากเซลลูไลท์ได้ และสิ่งที่ต้องรู้คือการดูดไขมันไม่สามารถดูดปริมาณมาก ๆ ในครั้งเดียวกัน เพราะอาจมีความเสี่ยงในการเสียเลือดมาก ซึ่งศัลยแพทย์จะให้การรักษาและคำแนะนำอย่างใกล้ชิด
ดูดไขมันเหมาะกับใคร
- ผู้ที่ไม่ได้อ้วนทั้งตัว
- ผู้ที่ไม่ได้มีน้ำหนักเกินปกติมาก
- ผู้ที่มีการสะสมของไขมันเฉพาะที่
- ผู้ที่มีไขมันสะสมและลดลงไม่ได้ด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร
ผู้ที่ผิวหนังยืดหยุ่นดี หลังจากดูดไขมันผิวจะเรียบสวยหย่อนน้อย
ผ่าตัดดูดไขมัน
ในการผ่าตัดดูดไขมันศัลยแพทย์จะทำเครื่องหมายบนร่างกายในตำแหน่งที่ต้องการดูดไขมันออก หลังจากนั้นจึงทำการเจาะรอยเล็กบริเวณผิวหนัง ขนาดประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร แล้วใส่ท่อเรียวยาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 – 5 มิลลิเมตรที่จะดูดไขมันเข้าไป ซึ่งท่อนี้จะต่อกับเครื่องปั๊มสุญญากาศหรือเครื่องอัลตราซาวนด์ โดยปริมาณไขมันที่ออกมาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและปริมาณไขมันที่สะสม อาจจะเสียเลือดบ้างเล็กน้อย หลังผ่าตัดศัลยแพทย์จะใช้ผ้าพันหรือผ้ารัดบริเวณที่ดูดไขมัน
เครื่องมือดูดไขมัน
สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการดูดไขมัน มี 2 แบบคือ
- เครื่อง VASER ใช้ Ultrasonic Energy สลายไขมัน
- เครื่อง Body Tite เครื่องมือที่ใช้ Radio Wave Energy เพื่อสลายไขมันแล้วจึงดูดไขมัน
ทั้งสองเครื่องนี้ดูดไขมันได้ง่าย ไม่เป็นอันตรายต่อเส้นเลือดหรือเส้นประสาท ช่วยกระชับผิว โดยศัลยแพทย์จะวางแผนและเลือกรูปแบบการรักษาที่เหมาะสม
ทำลายเนื้อเยื่อรอบๆ เซลล์ไขมัน จึงดูดไขมันได้อย่างปลอดภัย บวมช้ำน้อย หายเร็ว ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดการบอบช้ำระหว่างการทำการสลายไขมัน เนื่องจากเป็นการดูดไขมันออกด้วยหัวเครื่องมือพิเศษและปลอดเชื้อ
การดูแลหลังดูดไขมัน
- หลังผ่าตัดภายใน 24 – 48 ชั่วโมง จะรู้สึกปวดแสบร้อน บวม และมีรอยเขียวช้ำที่ผิวหนังบริเวณผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะให้รับประทานยาบรรเทาอาการปวดและประคบเย็นหลังผ่าตัด รวมถึงใส่ชุดรัดรูปเพื่อการกระชับ (Pressure Garment)
- ประมาณ 1 เดือน ควรใช้ผ้ายืดพันรัดหรือชุดรัดรูปเพื่อการกระชับในบริเวณที่ทำการรักษา เพื่อช่วยกระชับกล้ามเนื้อและลดอาการบวม โดยอาการบวมจะดีขึ้นภายใน 1 เดือน และผิวหนังบริเวณที่ดูดไขมันลักษณะเป็นลูกคลื่นจะยุบเข้าที่ประมาณ 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับการรักษาของแพทย์และคำแนะนำในการใช้ผ้ายืดพันรัดหรือชุดซัพพอร์ต
- ประมาณวันที่ 3 หลังผ่าตัด หากแผลแห้งดี ไม่มีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่แผล สามารถอาบน้ำได้ โดยต้องซับแผลให้แห้ง ทาแป้งได้ในบริเวณที่รู้สึกคัน แต่ห้ามทาที่บริเวณแผล
เครื่องดูดไขมันเครื่อง VASER (Vibration Amplification of Sound Energy at Resonance )
VASER เป็นเครื่องดูดไขมันที่ใช้พลังงานคลื่นอัลตร้าซาวด์ Ultrasound ซึ่งการดูดไขมันด้วยพลัง Ultrasound สามารถทำให้สลายไขมันปริมาณมากๆ ได้ภายในครั้งเดียว จึงทำให้แพทย์ทำการดูดไขมันออกมาได้ในปริมาณที่เยอะกว่าเครื่องมือชนิดอื่น วิธีนี้ทำให้ไขมันที่ดูดออกไม่สามารถในไปใช้เติมในบริเวณต่างๆ ในร่างกายได้ เนื่องจากเซลล์ไขมันที่ดูดออกมาได้ตายไปแล้ว
ข้อดีของเครื่องดูดไขมัน VASER
- VASER เป็นเครื่องที่สามารถดูดไขมันได้ทั้งหน้าท้อง แขน สะโพก ขาด้านนอกและด้านใน
- VASER เป็นเครื่องมือที่ดูดไขมันส่วนเกินในร่างกายออกมาได้ในปริมาณมาก เนื่องจากตัวเครื่องจะช่วยสลายไขมันภายในร่างกายให้สลายตัวแตกตัว จึงทำให้ง่ายต่อการดูดไขมันออกมา
- ใช้เวลาในการดูดไขมันไม่มาก จึงมีความรวดเร็วในการรักษา
- สัดส่วนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในบริเวณที่ทำการดูดไขมัน
ข้อเสียของเครื่องดูดไขมัน VASER
- ไขมันที่ถูกดูดโดยเครื่อง VASER ไม่สามารถนำกลับมาใช้ในการเติมไขมันได้ เนื่องจากเซลล์ไขมันถูกทำลาย จากการใช้เครื่อง VASER สลายไปไขมันไปแล้ว
- อาจเกิดความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่ทำการดูดไขมัน ในระหว่างที่แพทย์ทำการดูดไขมัน
- การดูดไขมันโดยการใช้เครื่อง VASER ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นนานกว่าเครื่องมือชนิดอื่น
- หลังดูดไขมันด้วยเครื่อง VASER คนไข้จะรู้สึกมีอาการบวมช้ำ ระบมบริเวณที่ดูดไขมัน
- แพทย์ที่ทำการดูดไขมันไม่ชำนาญกับเครื่องมือ อาจทำให้ท่อดูดไขมันสัมผัสกับผิวคนไข้ และเกิดอาการผิวไหม้ (Burn)ได้ รวมทั้งพลังงานความร้อนอาจทำให้เนื้อเยื่อ เส้นเลือด และเส้นประสาทได้รับผลกระทบได้
- หลังดูดไขมันด้วยเครื่อง VASER จะมีอาการบวมช้ำ จึงทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นนาน
เครื่อง Body Jet เครื่องดูดไขมันพลังน้ำ
เครื่องดูดไขมันพลังน้ำ Body Jet เป็นเครื่องดูดไขมัน Generation ล่าสุดจากประเทศเยอรมัน ที่มีการผสมผสานความแข็งแรงของเครื่องมือและความนุ่มนวลเอาไว้ โดยใช้พลังงานน้ำในการทำการแยกชั้นไขมันออกจากเนื้อเยื่อ จึงไม่ทำให้ไม่
ความเสี่ยงที่อาจพบ
- ผิวไม่เรียบคล้ายเป็นคลื่น
- ชาบริเวณแผลผ่าตัด
- ภาวะแทรกซ้อนจากการนำไขมันออกปริมาณมากเกินไป
- ปวดแผล สามารถทานยาแก้ปวดได้
- ติดเชื้อหรือมีภาวะเลือดออกที่แผลผ่าตัด ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น โรคประจำตัว, การทานยา ฯลฯ
เตรียมตัวก่อนดูดไขมัน
- แจ้งข้อมูลสุขภาพกับแพทย์อย่างละเอียด ได้แก่
- ปัญหาสุขภาพ
- โรคร้ายแรง / โรคประจำตัว
- ประวัติการผ่าตัดและการได้ยาระงับความรู้สึก
- ฟันโยก ฟันปลอม และปัญหาเกี่ยวกับฟัน
- การแพ้ยา / แพ้อาหาร
- อื่น ๆ
- ในกรณีมีภาวะเสี่ยงหรือโรคประจำตัวจะมีการเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับการผ่าตัดและวางยาสลบ ได้แก่
- การเอกซเรย์
- การตรวจเลือด
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- แพทย์จะนัดตัดไหมเมื่อครบประมาณ 1 สัปดาห์ ห้ามทายาป้องกันการเกิดแผลเป็นนูน แต่ใช้ถูนวดเบา ๆ ที่ฟกช้ำได้
- หลังการรักษา 1 เดือน ควรงดออกกำลังกาย
- ในระยะยาวจำเป็นต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นรูปร่างจะกลับไปผิดสัดส่วนเช่นเดิม
อย่างไรก็ตามเมื่อดูดไขมันแล้วจะต้องออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อกระชับและควบคุมอาหารเพื่อรักษาผลลัพธ์ที่ได้ให้นานที่สุด นอกจากนี้สิ่งที่ต้องรู้คือ การดูดไขมันจะได้ผลดีในกรณีที่ไม่มีผิวหนังหย่อนคล้อย ถ้ามีผิวหนังหย่อนคล้อย เช่น ผนังหน้าท้องที่เคยตั้งครรภ์ ลดน้ำหนักมาแล้วหลายสิบกิโลกรัม จะต้องดูดไขมันร่วมกับการศัลยกรรมยกกระชับหน้าท้อง ซึ่งมีทั้งยกกระชับบางส่วน (Lipectomy) และยกกระชับทั้งหน้าท้อง (Tummy Tuck) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ
Top med world เป็นแพลตฟอร์มท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่ดีที่สุดที่คัดสรรคลินิกและโรงพยาบาลชั้นนำที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยและทั่วโลกด้านศัลยกรรมตกแต่งและทันตกรรม อาทิ เช่น
Masterpiece Hospital ( โรงพยาบาล มาสเตอร์พีช )
Bumrungrad International Hospital ( โรงพยาบาล บำรุงราฎร์ )
Kamol Cosmetic Hospital ( โรงพยาบาล กมล )
Lelux Hospital ( โรงพยาบาล เลอลักษณ์ )
Fresh Plastic Surgery (โรงพยาบาลศัลยกรรมเฟรช โรงพยาบาลชั้นนำในประเทศเกาหลี )
Lienjang Plastic Surgery ( โรงพยาบาลศัลยกรรมลีเอนจาง )
ประวัติผู้เขียน
นพ. พัชระศักย์ ไกลสรพงษ์สกุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านศัลยกรรมตกแต่งความงาม และศัลยกรรมพลาสติกพิเศษประสบการณ์ 32 ปี
ทำการรักษาไปแล้ว 1,100 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2529 แพทย์บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2535 วุฒิบัตรศาสตร์ทั่วไป คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎ
ปี พ.ศ. 2544 วุฒิบัตรศาสตร์ตกแต่ง คณะแพทยืศาสตร์ ดรงพยาบาลพระมงกุฎ