ศูนย์ตรวจหัวใจและศัลยกรรม

ศูนย์ตรวจหัวใจและศัลยกรรม

เรื่องหัวใจ ให้เราช่วยดูแล”

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตรวจและรักษาโรคหัวใจครบครัน

เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงมีบริการที่ครอบคลุมการรักษา เทคโนโลยีที่นำสมัย ทีมแพทย์และบุคลากรที่ชำนาญการรักษาตามมาตรฐานสากล และการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

 

เรามีบริการการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ

การตรวจสมรรถภาพหัวใจ “EST” (Exercise Stress Test)

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือ วิ่งสายพาน “EST” (Exercise Stress Test) คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งสายพานเพื่อให้แพทย์ตรวจการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ และตรวจสอบว่า ขณะที่ร่างกายต้องออกแรง กล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดหรือไม่ จากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในเบื้องต้น โดยแพทย์จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ (Arrhythmia) และการขาดเลือดของหัวใจ รวมถึงอาการแสดงอื่น ๆ ที่ปรากฏ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง “ECHO” (Echocardiogram)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือ ตรวจเอคโค่หัวใจ “ECHO” (Echocardiogram) คือ การใช้คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงและแปลเป็นภาพ แพทย์จะเห็นทั้งรูปร่าง และขนาดของหัวใจ รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยแพทย์จะสอบถามอาการเบื้องต้น สำหรับวิธีนี้แพทย์จะใช้ประเมินการตรวจคัดกรองสำหรับผู้ที่มีอาการหอบ เหนื่อย บวม ที่สงสัยว่าอาจเกิดจากโรคหัวใจ หรือคนทั่วไปที่มีความเสี่ยง เพื่อดูการเคลื่อนไหวของหัวใจ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ รูปร่างและความหนาของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ ว่ามีลักษณะตีบหรือรั่วหรือไม่ เช็คภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ หัวใจโต หัวใจพิการแต่กำเนิด เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาต่อ

การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ “CTA Coronary / Cardiac Artery” (Coronary Computed Tomographic Angiography)

การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ คือ การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เพื่อค้นหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เช็คระดับความรุนแรงของการตีบของหลอดเลือด ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หรือใช้ติดตามผลการรักษา คัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง

 

สำหรับวิธีนี้เป็นการเตรียมผู้ป่วย ที่มีปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ก่อนทำการผ่าตัด หรือทำหัตถการใหญ่ ๆ และหลังจากการตรวจ แพทย์ด้านหัวใจ จะได้วางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม หากพบความผิดปกติ อาจจะปรับการใช้ยา ปรับพฤติกรรมคนไข้ หรือแนะนำฉีดสีสวนหัวใจ ในการทำหัตถการอื่น ๆ ต่อไป

 

ดังนั้นถ้าหากคุณ หรือคนใกล้ตัวที่คุณรัก ลองสังเกตอาการตัวเองว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจหรือไม่ อย่าปล่อยไว้ให้อาการรุนแรง

แนะนำว่า ควรรีบไปพบแพทย์โรคหัวใจ เพื่อช่วยประเมินและคัดกรอง ความเสี่ยง ในการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะหัวใจวาย ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้