การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery)

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery) คือ วิธีการลดน้ำหนักประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่ต่อสู้กับโรคอ้วน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โดยใช้วิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (วิธีการผ่าตัดแบบ Sleeve gastrectomy หรือ Roux-en-Y gastric bypass) เพื่อทำให้อิ่มเร็วและทานอาหารน้อยลง และ ปรับระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอิ่ม ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักถือเป็นทางเลือกในการลดน้ำหนักที่ได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืน ทั้งยังลดภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน และช่วยให้บรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพร่างกายที่ดีได้

ทำไมถึงต้องผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก?

โรคอ้วน (Obesity) ไม่ได้นำมาเพียงแค่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะมีบุตรยาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือปัญหาบุคคลิกภาพและความสวยงามเท่านั้น โรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน ยังอาจทำให้มีอายุขัยที่สั้นลง มีอาการปวดเมื่อยตามข้อมากขึ้น และมีความเสี่ยงของโรคมะเร็งสูงขึ้น เช่น โรคมะเร็งลำไส้ หรือโรคมะเร็งเต้านม ทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรงกว่าคนปกติทั่วไปอีกด้วย

นอกจากนี้ โรคอ้วนยังทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจและทำให้ความนับถือตนเองต่ำ ผู้ชำนาญการด้านโรคอ้วนเข้าใจถึงกลไกที่ซับซ้อนของการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว และระบบควบคุมภายในร่างกายมนุษย์ที่ต้านทานต่อการสูญเสียน้ำหนักตัว และการคงไว้ซึ่งน้ำหนักตัว โดยปัจจัยที่มีผลต่อการลดน้ำหนักยังรวมถึงพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม โรคประจำตัว ฮอร์โมน และเมแทบอลิซึมของแต่ละบุคคลอีกด้วย

ภาวะอ้วน มีวิธีการวัดอย่างไร?

แพทย์จะทำการประเมินภาวะอ้วน โดยการใช้วิธีการวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า การวัดค่า BMI โดยสามารถหาค่าได้จากการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น น้ำหนักตัว 100 กิโลกรัม ส่วนสูง 165 เซนติเมตรหรือ 1.65 เมตร สูตรการคำนวนค่า BMI ที่ได้ คือ (100/ (1.65 x 1.65) จะได้ค่า BMI = 36.73 กก./ตร.ม.

โดยเกณฑ์ทางการแพทย์ถือว่าผู้ที่มีค่า BMI มากกว่า 25.0 กก./ตร.ม เข้าข่ายเป็นผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนลงพุงและกลุ่มอาการเมตาโบลิก (Metabolic syndrome) ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด ทั้งนี้ค่าดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ที่เหมาะสมสำหรับคนเอเชียคือน้อยกว่า 25.0 กก./ตร.ม.

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมีกี่วิธี และมีวิธีการอย่างไร

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเมดพาร์ค โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการศูนย์ทางเดินอาหารและตับใช้วิธีการในการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วยเทคนิค แผลเล็ก เจ็บน้อย หายไว (Minimally invasive surgery) โดยใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง (Laparoscopic surgery) โดยมีหลักการในการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้น้อยลง ลดการดูดซึมแคลอรี่ พร้อมทั้งปรับระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว โดยการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารมี 3 วิธีดังนี้

1. การผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy: SG)

การผ่าตัดแบบสลีฟ Sleeve gastrectomy

การผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy) เป็นการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร (Restrictive procedure) โดยการตัดกระเพาะอาหารออกราว 75–80% จนเหลือปริมาณความจุ 150 cc โดยประมาณ และเย็บกระเพาะอาหารให้เป็นท่อยาวคล้ายแขนเสื้อ ทำให้ความจุของกระเพาะอาหารเล็กลง ในขณะเดียวกันก็ทำให้ร่างกายลดการผลิตออร์โมนกรีลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็น “ฮอร์โมนความหิว” ที่กระตุ้นความอยากอาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่กระทบต่อการดูดซึมแคลอรี่และสารอาหารในลำไส้ ทั้งนี้ทีมแพทย์จะทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟโดยการส่องกล้องวิดีโอขนาดเล็ก (Laparoscope) และเครื่องมือพิเศษช่วยให้การผ่าตัดที่มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ

2. การผ่าตัดแบบบายพาส (Roux-en-Y gastric bypass: RYGB)

การผ่าตัดแบบบายพาส Roux-en-Y gastric bypass

การผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส (Roux-en-Y gastric bypass) เป็นการผ่าตัดเพื่อลดขนาด (Restrictive procedure) และลดการดูดซึมของกระเพาะอาหาร (Mal-absorptive procedure) โดยทีมแพทย์จะทำการผ่าตัดแบ่งกระเพาะอาหารส่วนบนให้มีลักษณะเป็นถุงเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 ออนซ์ และทำบายพาสเชื่อมต่อกับลำไส้เล็กขนาดความยาว 180-200 ซม. โดยเป็นการเบี่ยงทางเดินอาหารใหม่ให้เป็นรูปทรง Y เพื่อให้ไม่เดินทางผ่านกระเพาะอาหารส่วนใหญ่ และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยวิธีการนี้จะช่วยให้ลดปริมาณแคลอรี่ที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วยลดความอยากอาหาร และทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น โดยทีมแพทย์จะทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาสโดยการส่องกล้องวิดีโอขนาดเล็ก (Laparoscope) และเครื่องมือพิเศษช่วยให้การผ่าตัดที่มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ

3. การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Endoscopic sleeve gastroplasty: ESG)

การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก Endoscopic sleeve gastroplasty

การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Endoscopic sleeve gastroplasty: ESG) เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์แบบใหม่ในการลดน้ำหนักด้วยวิธีการส่องกล้องวิดีโอขนาดเล็กที่โค้งงอตัวได้ (Endoscope) และเครื่องมือพิเศษสำหรับเย็บกระเพาะอาหาร (Endoscopic suturing system) ผ่านทางปากคนไข้ลงสู่กระเพาะอาหารขณะหลับเพื่อทำการผ่าตัดเย็บกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลงเท่าขนาดกล้วยหอม โดยจะเป็นวิธีการผ่าตัดที่คล้ายคลึงกับวิธี Sleeve gastrectomy แต่ไม่มีแผลผ่าตัดภายนอกหน้าท้อง เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว และช่วยลดผลข้างเคียงจากภาวะแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกในการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดี

A diagram of a human stomachDescription automatically generated

การปฎิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมีวิธีการอย่างไร?

ก่อนผ่าตัดผู้เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักเข้ารับการตรวจสุขภาพและความพร้อมของร่างกายที่โรงพยาบาลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางเพื่อทราบแผนการรักษา วิธีการผ่าตัด และข้อปฎิบัติตนทั้งก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัด โดยแพทย์จะทำการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร ตรวจอัลตร้าซาวด์ตับเพื่อประเมินภาวะไขมันพอกตับ ตับแข็ง หรือนิ่วในถุงน้ำดี รวมทั้งตรวจเลือด เพื่อประเมินความพร้อมและวางแผนการผ่าตัด

ระหว่างการผ่าตัด

วิสัญญีแพทย์จะใช้วิธีดมยาสลบกับผู้เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักทั้ง 2 วิธี โดยจะเป็นการผ่าตัดด้วยเทคนิค แผลเล็ก เจ็บน้อย หายไว (Minimally invasive surgery) โดยใช้การส่องกล้อง (Laparoscope) โดยการผ่าตัดจะใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง และพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาล 4-5 วัน เพื่อประเมินการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด เมื่อปลอดภัยแล้วแพทย์จึงให้กลับบ้านได้

หลังการผ่าตัด

แพทย์ นักกำหนดอาหาร และนักโภชนาการ จะวางแนวทางในการรับประทานอาหารหลังเข้ารับการผ่าตัดร่วมกับแนวทางการปรับพฤติกรรมการกิน โดยใน 4 สัปดาห์แรก ให้รับประทานเพียงอาหารเหลว หรืออาหารอ่อนที่ง่ายต่อการปรับสภาพกระเพาะอาหารและกระบวนการย่อย เช่น โจ๊ก ซุป ไข่ตุ๋น หลังจาก 4 สัปดาห์ไปแล้วจึงจะสามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันไม่ให้กลับมามีภาวะอ้วนลงพุงได้อีก

 

ถามคำถาม

Before surgery

Candidates considering bariatric surgery for weight loss undergo a physical examination and medical readiness assessment by a specialist doctor to learn about the treatment plan, surgical method, and rules of healthy eating regimens before and after surgery. The doctor will perform an endoscopic examination of the stomach, a liver ultrasound to diagnose fatty liver, cirrhosis, or gallbladder stones, and blood tests to assess readiness and plan for surgery.

During surgery

Anesthesiologists will administer general anesthesia to patients undergoing bariatric surgery, utilizing a minimally invasive laparoscopic or an endoscopic surgery technique for the first two weight loss surgery options and the third option, respectively. The surgery will take approximately 2-3 hours, and you will recuperate at the hospital for 4-5 days to assess the conditions after recovery from the surgery before returning home.

Post-surgery

Physicians, dietitians, and nutritionists collaborate to provide post-surgery instructions and guidelines for eating habit adjustments. The diets recommended for the first four weeks are only liquid or soft food, easy to digest and help to condition the stomach and digestion process, such as porridge, soup, and poached eggs. After four weeks, the patient can consume a regular diet in the appropriate amount, enabling an effective treatment outcome and preventing obesity recurrence.
 

Bariatric surgery for weight loss utilizing endoscopic or laparoscopic, minimally invasive surgical techniques, with no or minimal wound size, lessens pain and speeds up recovery by surgical specialists collaborating with a multidisciplinary team resulting in high-precision, and reducing the risk of complications. Most people who have undergone bariatric surgery have successful treatment outcomes.
 

Patients undergoing bariatric surgery for weight loss will experience rapid weight loss in the first years after surgery, particularly the first 1-2 years when the weight decreases the most. Weight gain may occur after a couple of years due to age factors, diet, and lack of exercise. However, compared to gaining better long-term health, bariatric surgery is a clinically efficacious and cost-effective treatment option for obesity and related diseases.

Infection can occur after bariatric surgery if the gastric suture line leaks due to poor anastomosis. However, with the superior quality of a modern laparoscope and specialized surgical devices, patients can be sure of a secured stomach suture line with no leakage or infection. The doctor may prescribe vitamin supplements for a patient with a vitamin deficiency.
 

Bariatric surgery for weight loss aids in the recovery from obesity and obesity-related diseases such as diabetes, high blood pressure, heart disease, stroke, sleep apnea, infertility, snoring, and irregular menstruation, as well as those who have body image, personality issues and a lack of self-confidence. Bariatric surgery also reduces the risk of cancer and helps improve agility in activities of daily life as well.