การรักษาแผลเบาหวาน
“แผลเบาหวาน” เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากในผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดีพอ โดยเฉพาะแผลเรื้อรังที่เท้า เพราะระบบประสาทและหลอดเลือดของผู้ป่วยเบาหวานจะทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการชาหรือไร้ความรู้สึกที่ปลายมือและเท้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุจนมีแผล และเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณแผลไม่เพียงพอ จึงทำให้แผลหายช้าหรือกลายเป็นแผลเรื้อรัง ทั้งนี้หากไม่รีบรักษา แผลอาจลุกลามรุนแรงจนถึงขั้นต้องสูญเสียนิ้ว เท้า หรือต้องตัดขาในที่สุด
แผลเบาหวานเกิดจากอะไร?
แผลเบาหวานเกิดขึ้นจากผลของโรคเบาหวานที่มีผลต่อระบบหลอดเลือดและระบบภูมิคุ้มช่วยของร่างกาย โรคเบาหวานทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป (hyperglycemia) ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายองค์ประกอบของร่างกาย รวมถึงระบบหลอดเลือดและระบบภูมิคุ้มช่วย
การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่เพียงพอที่จะส่งออกสารอาหารและเท่าที่จะมีการหลุดซึมของเลือดไปยังเนื้อเยื่อ โรคเบาหวานทำให้ระบบภูมิคุ้มช่วยทำงานไม่ปกติ ทำให้การตอบสนองต่อเชื้อโรคหรือแผลที่เกิดขึ้นไม่ได้มีประสิทธิภาพ การที่ระบบภูมิคุ้มช่วยไม่ทำงานได้ดีทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแผล
ปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป, การสูบบุหรี่, และโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล, ไขมัน, และคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป, ทำให้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น
ดูแลแผลเบาหวานอย่างไรให้ดี
นอกจากระดับน้ำตาลที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องระวังไม่ให้สูงเกินค่าปกติแล้ว ผู้ป่วยยังต้องระวังไม่ให้เกิดบาดแผลใดๆ เพราะแผลจะหายยากและเสี่ยงติดเชื้อง่าย แต่หากเกิดแผลขึ้นแล้ว ผู้ป่วยสามารถดูแลแผลเบาหวานได้ด้วยตัวเอง ดังนี้ ความสะอาด
ต้องหมั่นทำความสะอาดแผลอย่างเบามือ วันละ 2-4 ครั้ง ด้วยสบู่ น้ำอุ่น หรือน้ำเกลือ หลังล้างต้องเช็ดให้แห้งทุกครั้ง ที่สำคัญอย่าใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาด เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นอันตรายต่อแผล
การปิดแผล
เมื่อทำความสะอาดแผลและเช็ดให้แห้งสนิทแล้ว ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อที่เป็นต้นเหตุทำให้แผลหายช้า ปิดแผลให้สนิท ระวังอย่าให้แผลโดนน้ำเด็ดขาด
หมั่นสังเกต คอยสังเกตแผลอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติ เช่น มีอาการปวด บวม หรือมีน้ำเหลือง โดยเฉพาะแผลมีหนองต้องดูแลอย่างดี เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์จะดีกว่า
ดูแลแผลกดทับ
แผลกดทับจะทำให้เนื้อเยื่อตายและติดเชื้อได้ง่าย จึงต้องดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ อย่าปล่อยให้แผลถูกกดทับนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง และควรเช็ดทำความสะอาดแผลกดทับด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ จากนั้นปิดแผลที่แห้งสนิทด้วยผ้าปิดแผลที่ฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น
ป้องกันได้…ไม่ให้เกิดแผลเรื้อรัง
ใช่ว่าผู้ป่วยเบาหวานทุกคนต้องเป็น “แผลเรื้อรัง” หากผู้ป่วยดูแล “เท้า” เป็นอย่างดี พยายามไม่ให้เกิดบาดแผลใดๆ แผลเรื้อรังก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรทำคือ
สำรวจเท้าทุกวันว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น รอยบวมแดง ผื่นคัน ตุ่มน้ำใส ขุยขาวที่ซอกนิ้วเท้า ตาปลา และสีเล็บ
ทำความสะอาดเท้าทุกวัน เช็ดให้แห้งทุกครั้ง
ทาโลชั่นหรือวาสลีนเพื่อให้เท้าชุ่มชื้น ป้องกันไม่ให้เท้าแห้ง ลอก และคัน
หมั่นตัดเล็บเท้าด้วยความระมัดระวัง ไม่ปล่อยให้เล็บยาวหรือตัดสั้นจนเกินไป
สวมถุงเท้าที่สะอาดและไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อคงความชุ่มชื้น และลดการเสียดสี
เลือกสวมรองเท้าที่ถูกสุขลักษณะ ขนาดพอดี สวมใส่สบาย
บริหารเท้าเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปสู่เท้าได้มากขึ้น
“แผลเรื้อรังจากเบาหวาน” เป็นภาวะที่ผู้ป่วยต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ดูแลอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้แผลลุกลามร้ายแรงจนยากที่จะรักษา หากเป็นแผลหรือพบความผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเร็วที่สุด
หากท่านต้องการทราบข้อมูลทางบริษัท ทอปเมดเวิลด์ ได้นำเสนอ แพคเกจราคา โปรโมชั่นพิเศษ ศัลยกรรมหัตถการทำตาของโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำของประเทศไทยและทั่วโลก โปรดติดต่อเรา เพื่อการนัดหมาย พบแพทย์ หรือ ปรึกษาแพทย์ทางออนไลน์